รับทำวีซ่าคนต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราหรือขอวีซ่าจากสถานเอกอัครราชทูต หรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยซึ่งตั้งอยู่ในประเทศที่ตนมีถิ่นพำนัก หรือจากสถานเอกอัครราชทูตไทยที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลประเทศที่คนต่างชาติดังกล่าวมีถิ่นพำนัก หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสถานที่ขอวีซ่า กรุณาสอบถามได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยทุกแห่ง
วีซ่าประเทศไทย – Thai Visa Service
ในการขอวีซ่านั้น คนต่างชาติจะต้องขอรับการตรวจลงตราให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการเข้ามาในประเทศไทย ทั้งนี้ การอนุมัติวีซ่าอยู่ในดุลพินิจของสถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ และในการตรวจลงตราให้แก่คนต่างชาติบางสัญชาติ ได้มีการกำหนดระเบียบและหลักเกณฑ์การพิจารณา
คนต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยด้วยวีซ่าประเภทใด ๆ ก็ตาม ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน ดังนั้น คนต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในประเทศไทยจะต้องขอรับการตรวจลงตราประเภทที่ถูกต้องคือ “Non-Immigrant Visa B” เพื่อที่จะสามารถยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานได้
หากประสงค์จะพำนักในประเทศเกินกว่าระยะวีซ่าท่องเที่ยวที่ประเทศไทยกำหนดให้แต่ละสัญชาตินั้น ต้องดำเนินการขอวีซ่าชั่วคราวแบบ 90 วัน non-immigrant visa ที่สถานทูตไทยในประเทศต้นทาง เพื่อมาดำเนินการขอวีซ่าระยะยาวในประเทศไทยได้
Doctor Visa เราบริการแนะนำ ให้คำปรึกษา ในการยื่นขอวีซ่าในประเทศไทยให้กับชาวต่างชาติในทุกประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวก และช่วยเหลือคนต่างชาติได้รับความสะดวก ในการใช้ชีวิตในประเทศไทย
วีซ่าท่องเที่ยว – Tourist Visa
หลักเกณฑ์การพิจารณา
- คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทนักท่องเที่ยว
- ไม่เป็นบุคคลสัญชาติ หรือจำ พวกที่ คณะกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการของพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ของ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด (กรณีเป็นบุคคลสัญชาติศรีลังกา อินเดีย ปากีสถาน บังคลาเทศ อิหร่าน เนปาล โตโก ไนจีเรียและยูกันดา จะได้รับให้อยู่ในราขอาณาจักรได้ไม่เกิน 7 วัน)
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
- แบบคำขอ ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า , ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. (ที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)
- ค่าธรรมเนียม 1,900 บาท
เอกสารเฉพาะกรณี
กรณีเจ็บป่วย
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หนังสือรับรองจากโรงพยาบาล โดยให้ปรากฏคำวินิจฉัยของแพทย์ดังนี้
– เจ็บป่วยเป็นโรค หรืออะไร
– เป็นอุปสรรคต่อการเดินทางไกลหรือไม่ อย่างไร
– ต้องรักษาตัว หรือไม่สามารถเดินทางไกล นานเท่าใดแต่เมื่อใด เป็นต้นไป
กรณีดูแลผู้ป่วย
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หนังสือรับรองจากโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษาผู้ป่วย โดยระบุความสัมพันธ์กับผู้ป่วย หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์กับผู้ป่วยจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
กรณีเพื่อเยี่ยมญาติหรือกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทยหรือของผู้ที่มีบิดาหรือมารดา เป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หลักฐานแสดงว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดา หรือมารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย
กรณีเพื่อเยี่ยมคู่สมรส หรือเยี่ยมบุตรซึ่งมีสัญชาติไทย
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หลักฐานแสดงความสัมพันธ์ (กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทางนิตินัย และพฤตินัย)
3.1 สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส หรือบุตร
3.2 สำเนาบัตรประชาชนของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
3.3 สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตรของบุตร
กรณีเพื่อการดำเนินคดี หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดี
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หลักฐานยืนยันว่าเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี โดยเป็นผู้กล่าวหา ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์จำเลย หรือพยาน
กรณีปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจให้แก่ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานฑูต หรือสถานกงสุล หรือองค์การระหว่างประเทศ
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หนังสือรับรองหรือร้องขอ จากส่วนราชการระดับกรม หรือเทียบเท่า หรือหัวหน้า
- รัฐวิสาหกิจ หรือหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือจากส่วนราชการตำรวจระดับกองบังคับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป หรือจากส่วนราชการทหารระดับผู้บังคับหน่วยในสังกัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ซึ่งมีชั้นยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรีขึ้นไป ในส่วนที่เกี่ยวข้อง หรือจากองค์การระหว่างประเทศ
กรณีมีเหตุจำเป็นโดยมีสถานฑูต หรือสถานกงสุลรับรองและร้องขอ
- แบบฟอร์ม ตม.7 (คนต่างด้าวต้องมายื่นคำร้องด้วยตนเอง)
- สำเนาหนังสือเดินทาง, วีซ่า, ตราประทับอนุญาตครั้งสุดท้าย
- หนังสือรับรอง หรือร้องขอ จากสถานฑูต หรือสถานกงสุล
วีซ่านักเรียน Non-Immigrant ED
กรณีเพื่อศึกษาในสถานศึกษาของ เอกชน

หลักเกณฑ์การพิจารณา
– คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
– สถานศึกษานั้นได้รับอนุญาตให้ประกอบ กิจการจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
– ได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานศึกษานั้น
– ได้รับการรับรองจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ และกรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
– แบบคำขอ ตม.7
– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
– สำเนาหลักฐานการอนุญาตให้จัดตั้ง สถานศึกษาจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
– หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจาก สถานศึกษานั้นโดยให้ปรากฏรายละเอียด เกี่ยวกับจำนวนปี-การศึกษา ระดับหลักสูตร และผลการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ
– หนังสือรับรองจากหน่วยงานของรัฐระดับ กรมหรือเทียบเท่าหรือจากผู้ว่าราชการจังหวัดที่ รับผิดชอบสถานศึกษานั้น (ยกเว้นกรณีศึกษาในโรงเรียนนานาชาติและ กรณีศึกษาในระดับอุดมศึกษา)
วีซ่าติดตามคู่สมรส บุตรบิดามารดา – Immigrant Visa
กรณีเป็นครอบครัวของผู้มีสัญชาติ ไทย (เฉพาะบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรส)

หลักเกณฑ์การพิจารณา
– คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว
– มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
– กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้งทาง นิตินัยและพฤตินัย หรือกรณีบุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของ คู่สมรสขอยู่ในความ อุปการะบุตรบุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสนั้นต้องยังไม่ได้สมรสและอยู่อาศัยเป็นส่วนแห่งครัวเรือนนั้น และต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี บริบูรณ์
– กรณีบิดาหรือมารดา บิดาหรือมารดา นั้นต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่าเดือนละ 40,000 บาท หรือต้องมีเงินฝากไม่น้อยกว่า 400,000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบ 1 ปี
– กรณีสมรสกับหญิงไทย ฝ่ายสามีซึ่งเป็น คนต่างด้าวต้องมีรายได้เฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า เดือนละ 40,000 บาท หรือเงินฝากใน ธนาคารในประเทศไทยคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 2 เดือน ไม่น้อยกว่า 400, 000 บาท เพื่อไว้ใช้จ่ายในรอบปี
เอกสารประกอบที่ต้องใช้ (กดอ่าน)
หมายเหตุ
– ผู้ยื่นคำขอและบุตร/ภรรยา/สามีผู้มีสัญชาติไทย ต้องมาติดต่อด้วยตนเอง เพื่อมาให้ปากคำ ให้นำหลักฐานเอกสารตัวจริงมาแสดง และถ่ายเอกสารพร้อมรับรองสำเนาถูกต้องด้วยลายมือชื่อของผู้ยื่นคำขอ
วีซ่าเกษียณ Non-Immigrant O
กรณีใช้ชีวิตในบั้นปลาย
หลักเกณฑ์การพิจารณา
– คนต่างด้าวต้องได้รับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราวมีอายุตั้งแต่ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
– มีหลักฐานการมีเงินได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 65,000 บาท หรือ ณ วันยื่นคำขอมีเงินฝากในธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา/ประจำ) คงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท เฉพาะในปีแรกให้แสดงบัญชีเงินฝากโดยมีเงินจำนวนดังกล่าวฝากอยู่ในบัญชีมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 วัน หรือ มีเงินได้ในรอบปี และมีเงินฝากธนาคารคำนวณรวมกันได้ไม่น้อยกว่า 800,000 บาท นับถึงวันยื่นคำขอคนต่างด้าว ซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 21 ตุลาคม 2541 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร เพื่อใช้ชีวิตในบั้นปลายต่อเนื่องตลอดมา
ให้ใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
(ก) อายุ 60 ปีขึ้นไป และมีรายได้ที่แน่นอน โดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอด ระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 2,000,000 บาท
หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่า เดือนละ 20,000บาท
(ข) อายุไม่ถึง 60 ปี แต่ไม่น้อยกว่า 55 ปี ต้องมีรายได้ที่แน่นอนโดยมีเงินฝากคงอยู่ในบัญชีตลอดระยะเวลาย้อนหลัง 3 เดือน ไม่น้อยกว่าปีละ 500,000 บาท หรือ มีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 50,000 บาท
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
– แบบคำขอ ตม.7
– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
– หลักฐานแสดงการมีเงินได้ เช่น เงินบำนาญ หรือการได้รับดอกเบี้ย หรือเงินปันผล เป็นต้น และ / หรือ หนังสือรับรองการมีเงินฝากจากธนาคารในประเทศไทย (ประเภทออมทรัพย์ธรรมดา / ประจำ) และสำเนาบัญชีธนาคาร
– เฉพาะกรณีตามหลักเกณฑ์ข้อ (6) ให้แสดง เอกสารเช่นเดียวกับข้อ 1 – 4 ข้างต้น
วีซ่าเยี่ยมเยือนคู่สมรส บุตรที่มีสัญชาติไทย
หลักเกณฑ์การพิจารณา
– มีหลักฐานแสดงความสัมพันธ์
– กรณีคู่สมรสต้องมีความสัมพันธ์กันทั้ง ทางนิตินัยและพฤตินัย
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
– แบบคำขอ ตม.7
– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มี สัญชาติไทย
– สำเนาทะเบียนสมรส หรือสำเนาสูติบัตร
วีซ่าป่วย – Medical Visa
กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาล หรือ การพักฟื้น หรือเพื่อดูแลผู้ป่วย

ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย
ได้รับการรับรองและร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา โดยให้ปรากฏรายละเอียดเกี่ยวกับอาการป่วย
ระยะเวลาในการรักษา และความเห็นของแพทย์ผู้รักษาว่าอาการป่วยนั้นเป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง
กรณีดูแลผู้ป่วยต้องได้รับการรับรอง และร้องขอจากแพทย์ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา หรือจากสถานทูต
หรือ สถานกงสุล ผู้ดูแลผู้ป่วย นอกจากบิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุตรของคู่สมรสแล้ว ให้อนุญาตได้อีกไม่เกิน 1 คน
ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
ผู้รับการรักษาพยาบาลและผู้ดูแลผู้ป่วย ต้องได้รับการรับรองและร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา และออกโดยกระทรวงสาธารณสุข
ผู้ดูแลผู้ป่วย ได้แก่ บิดามารดา คู่สมรส บุตร บุตรบุญธรรม หรือบุคคลอื่นตามเอกสารแสดงรายชื่อที่ผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายชื่อรับรองเอกสาร จำนวนไม่เกิน 4 คน
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
ก. กรณีเพื่อรับการรักษาพยาบาลหรือการพักฟื้นหรือเพื่อดูแลผู้ป่วย
– แบบคำขอ ตม.7
– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
– หนังสือรับรองและขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ ประจำโรงพยาบาลที่ทำการตรวจรักษา
เฉพาะกรณีดูแลผู้ป่วยให้แนบหนังสือรับรอง และขอให้อยู่ต่อจากแพทย์ประจำโรงพยาบาล ที่ทำการตรวจรักษา และเอกสารแสดง ความสัมพันธ์ (กรณีผู้ดูแลซึ่งเป็นส่วนแห่ง ครัวเรือน) เช่น หลักฐานการสมรส สำเนา สูติบัตร หลักฐานการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น โดยได้รับการรับรองจากสถานทูต หรือสถาน กงสุล
เอกสารประกอบที่ต้องใช้
ข. กรณีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรับการรักษาพยาบาลและผู้ติดตามได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรได้ไม่เกินเก้าสิบวัน สำหรับคนชาติราชอาณาจักรบาร์เรน รัฐคูเวต รัฐสุลต่านโอมาน รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศอื่น ตามที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยจะได้กำหนด
– แบบคำขอ ตม.7
– สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ
– หนังสือรับรองหรือร้องขอจากสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ทำการตรวจรักษา หรือจากกระทรวงสาธารณสุข
ผู้รับการรักษาพยาบาล ให้แนบเอกสารเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่ออกโดยสถานพยาบาลในประเทศไทยตามประกาศรายชื่อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดที่ได้รับการตรวจสอบโดยกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ เอกสารการนัดหมายเข้ารับการรักษาพยาบาล เอกสารการรับรองการรักษาพยาบาลของแพทย์ เอกสารยืนยันการเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือเอกสารทางการแพทย์ประเภทอื่น
ผู้ดูแลผู้ป่วย กรณีที่เป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตรหรือบุตรบุญธรรม ให้แนบเอกสารแสดงความสัมพันธ์ในครอบครัว เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนสมรส สำเนาสูติบัตร สำเนาใบรับรองบุตร หรือหนังสือรับรองความสัมพันธ์จากผู้รับการรักษาพยาบาลในกรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส สำหรับบุคคลอื่นนอกเหนือจากบิดา มารดา คู่สมรส บุตร หรือบุตรบุญธรรมให้แนบสัญญาจ้าง หรือหนังสือรับรองจากผู้เข้ารับการรักษาพยาบาล โดยทั้งสองกรณีต้องแนบเอกสารแสดงรายชื่อผู้ดูแลแลผู้ป่วย ซึ่งผู้รับการรักษาพยาบาลลงลายมือชื่อรับรองเอกสาร
ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวข้างต้น ต้องรับรองโดยสถานทูตหรือหน่วยงานราชการของประเทศในกลุ่มประเทศสมาชิกคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC : Gulf Cooperation Council) (ตามแบบฟอร์มเอกสารหนังสือรับรองความเป็นญาติและผู้ติดตามของผู้รับบริการรักษาพยาบาล – Affidavit of Support) โดยแปลเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ