ประเทศไทยดินแดนแห่งรอยยิ้ม กลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับต้นๆ ที่ชาวต่างชาตินิยมเดินทางมาพำนักระยะยาว ด้วยจุดประสงค์เพื่อติดต่อทางธุรกิจ และทำงานมากที่สุด
สำหรับชาวต่างชาติเอง หากต้องการมาทำงานในไทย การขอ “วีซ่า Non b” และ “ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)” นั้น เป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้ เพราะ วีซ่า Non b และ Work Permit เปรียบเสมือนใบอนุญาต ให้ชาวต่างชาติสามารถทำงานในไทยได้อย่างถูกกฎหมายเป็นระยะอย่างมาก 1 ปี
Table of Contents
Visa Non-B คืออะไร?
วีซ่า Non B มีชื่อเต็มๆ ที่ย่อมาจาก วีซ่า Non-Immigrant ประเภท “B” ซึ่งวีซ่าประเภท Non-Immigrant ของไทย เป็นวีซ่าสำหรับชาวต่างชาติ ผู้ที่ไม่ถือสัญชาติไทยที่ต้องการพำนักในประเทศไทยเป็นเวลาชั่วคราว ด้วยวัตถุประสงค์ในการทำงาน ติดต่อทางธุรกิจ หรือ การประชุม ดังนั้น “วีซ่า Non b” จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “วีซ่าธุรกิจ” ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว หรือ Non-Immigrant วีซ่า
ประเภทของวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว (Non Immigrant Visa) ของไทย มีอะไรบ้าง?
สำหรับชาวต่างชาติผู้ที่ไม่ได้ถือสัญชาติไทย หากมีความประสงค์ต้องการพำนักในไทย หรือ ยืดระยะเวลาการพำนักในไทย ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อการทำงาน หรือ ติดต่อทางธุรกิจ จะต้องทำเรื่องขอวีซ่าประเภท Non-Immigrant ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามวัตถุประสงค์ของผู้ยื่นได้ดังนี้
- ประเภท B (วีซ่า Non B) หรือ วีซ่าธุรกิจ : สำหรับผู้ต้องการทำงาน หรือ ติดต่อธุรกิจในไทย
- ประเภท B-A (วีซ่า Non B – A): สำหรับผู้ต้องการลงทุนกับบริษัทในไทย
- ประเภท D : สำหรับผู้ทำงานในสถานทูตของประเทศอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของประเทศไทย
- ประเภท ED : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในไทย
- ประเภท EX : สำหรับผู้ที่ทำงานในไทยซึ่งใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญในการประกอบการ
- ประเภท F : สำหรับผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับราชการไทย
- ประเภท IB : สำหรับผู้เดินทางเข้ามาในไทยเพื่อลงทุน
- ประเภท M : สำหรับตัวแทนสื่อมวลชล
- ประเภท O-A: สำหรับผู้ต้องการปลดเกษียณในไทย
เนื่องจากชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยส่วนใหญ่นิยมทำ/ต่อวีซ่า Non b เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะทำความเข้าใจข้อมูล ประเภท วีธีการยื่น และ เอกสารสำคัญตี่างๆ สำหรับยื่นวีซ่า Non b เป็นหลัก
ผู้ขอ Visa Non-B มีอยู่ 3 กรณี
- กรณีที่ยังไม่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย หรือวีซ่าหมดอายุ ให้ดำเนินการขอ Visa NON-B ที่สถานทูตไทยในประเทศนั้นๆ โดยตรวจสอบการเตรียมเอกสารได้ที่สถานกงสุลประเทศนั้นๆ (ขึ้นอยู่กับประเทศที่ขอ)
- กรณีที่มีการเดินทางเข้ามาในประเทศไทยแล้ว โดยถือวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) วีซ่าผ่านทาง (Transit Visa) หรือวีซ่าอื่นๆ ให้ดำเนินการเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น Visa NON-B ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ
- กรณีที่มี Visa Non-B อยู่แล้ว แต่อายุวีซ่าใกล้หมด ให้ดำเนินการต่อวีซ่าเพิ่ม ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แจ้งวัฒนะ
เอกสารประกอบการขอ Visa Non-B
- แบบฟอร์ม ตม.86 (กรณีเปลี่ยนประเภท Visa เป็น Non-B) หรือ ตม.87 (กรณีต่อ Visa Non-B) หรือแบบฟอร์มของสถานกงสุล ในประเทศนั้นๆ
- รูปถ่าย ขนาด 4 x 6 ซม. จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
- หนังสือเดินทาง อายุการใช้งานไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
- หนังสือรับรองจากกระทรวงแรงงาน แจ้งผลอนุญาตให้ทำงาน
- ใบอนุญาตการทำงาน และ Visa Non-B ล่าสุด (กรณีต่อ Visa Non-B)
- ภ.ง.ด.91 ของคนต่างชาติ
- เอกสารสำคัญของบริษัทที่จ้างงาน
คุณสมบัติเบื้องต้น
- ชาวต่างชาติ ต้องมีใบอนุญาตทำงาน
- ชาวต่างชาติ ต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
- บริษัท ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท
- บริษัท ต้องมีความมั่นคงทางธุรกิจ และต้องมีการประกอบการจริงและต่อเนื่อง
- บริษัท ต้องมีอัตราส่วน จำนวนคนต่างด้าว กับพนักงานคนไทย 1 ต่อ 4 คน
ค่าธรรมเนียมในการทำ Visa Non-B มี 2 แบบ
- Single Entry (เข้าได้ครั้งเดียว) ราคา 2,000 บาท
- Multiple Entry (เข้าได้หลายครั้ง) ราคา 5,000 บาท
ระยะเวลาที่รอ Visa Non-B ประมาณ 1 เดือน ส่วนอายุวีซ่าที่จะได้ขึ้นอยู่กับทางสถานกงสุล หรือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองพิจารณา มีทั้ง 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี แต่สำหรับมือใหม่ ได้อยู่ประมาณ 3-6 เดือน
ทั้งนี้ Visa Non-B เป็นเพียงแค่ใบเบิกทางอันดับแรกที่จะให้ชาวต่างชาติจากหลายๆ ประเทศ สามารถเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทยเพื่อทำงานได้อย่างถูกต้อง แต่สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือ Work Permit ที่จะต้องใช้ควบคู่กันระหว่างทำงานอยู่ในประเทศไทย
สำหรับชาวต่างชาติท่านไหน หรือ องค์ที่กำลังมีแผนดำเนินเรื่องขอวีซ่า Non b ให้แก่บุคลากรของท่าน แต่กังวล และ สับสนกับขั้นตอน และ รายการเอกสาร ทาง Doctor Visa เรามีบริการขอ/ ต่อ วีซ่า Non b ที่พร้อมให้คำปรึกษา และ ดำเนินเรื่องให้คุณตั้งแต่ต้นจนจบ
สามารถอ่านบทความเพิ่มเกี่ยวกับ visa